วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การทบทวนวรรณกรรม

ความหมายของการทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) 

การค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา และ/หรือ โจทย์วิจัยที่กำหนด เพื่อให้นักวิจัยมีความรอบรู้ในเรื่องนัน้ มากขึ้นจน สามารถทำการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพ

 
ความสาคัญของการทบทวนวรรณกรรม
1. เป็นหลักฐานว่างานวิจัยที่ทามีคุณค่าและเชื่อถือได้ในด้านวิชาการ
2. ทำให้ผู้ที่นำงานวิจัยไปใช้มีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความถูกต้องของแนวคิดและทฤษฎีที่นามาใช้
3. สามารถนาเสนอผลการวิจัยที่ชีใ้ ห้เห็นความสอดคล้องและความขัดแย้งกับผลงานวิจัยอื่น ๆ
4. ผู้อ่านได้สารสนเทศด้านแนวคิดและคุณลักษณะของการวัดในมิติต่างๆ 
5. ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้เห็นพัฒนาการในมิติต่างๆ ของความรู้ในเรื่องที่ทำวิจัย
6. แสดงให้เห็นว่างานวิจัยที่จะทาเหมาะสมกับองค์ความรู้ที่มีอยู่
7. ทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างเป็นประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

 ข้ั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
- สืบค้น
- จัดการเรียบเรียง
- เขียน 

หลักการคัดเลือกและประเมินวรรณกรรมที่เหมาะสม
1. ผู้เขียน พิจารณาความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในเรื่องนั้น
2. ความถูกต้อง เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ความสอดคล้องกับเนือ้ หากับโจทย์วิจัยที่กาหนด
3. ความทันสมัย ควรพิจารณาเนื้อหา ข้อมูลที่ทันสมัย มีการพิมพ์ล่าสุดหรือไม่เกิน 5 ปี
4. แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบจากแหล่งปฐมภูมิจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าแหล่งทุติยภูมิ
5. วิธีการเขียน ควรพิจารณาวรรณกรรมที่เข้าใจได้ง่าย มีการเรียบเรียงที่ดี ไม่ซับซ้อนมาก
6. การอ้างอิง หนังสือหรือเอกสารนั้นมีเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือเพียงใด
7. สำนักพิมพ์ หนังสือ เอกสารที่พิมพ์ต่างสานักพิมพ์ก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน

เนื้อหาที่ต้องทบทวนจากวรรณกรรม
1. สถานการณ์ท่เี ป็ นปัญหา เป็นการทบทวนในสิ่งที่ชี้บอกว่าเรื่องที่จะทำเป็นปัญหา
2. แนวคิด ทฤษฎี ที่ใช้สนับสนุน ทฤษฎีที่กล่าวว่าอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง มีการนาไปใช้โดยตรงหรือว่าประยุกต์อย่างไรบ้าง และในการวิจัยครั้งนี้จะใช้ทฤษฎีอะไร
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องทบทวนทั้งเนื้อหาวิชา เนื้อเรื่อง ตัวแปรที่ศึกษา และวิธีการวิจัยที่ ใคร ทำเรื่องอะไร กับใคร ที่ไหน ด้วยวิธีการอย่างไร และผลการวิจัยและข้อสรุปเป็นอย่างไร
4. เครื่องมือวิจัยและเครื่องมือเก็บข้อมูล ต้องทบทวนว่า มีเครื่องมือวิจัยและเครื่องมือเก็บข้อมูลของใครพอที่จะนามาใช้กับการวิจัยของเราได้บ้าง
5. สถิติและแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล จาเป็นต้องทบทวนด้วย จะได้ใช้เป็นแนวทางในการกาหนดปัญหาการวิจัย สมมติฐาน ขอบเขตการนิยาม และแนวทางการวิเคราะห์
6. รูปแบบและลีลาการเขียนรายงาน เพื่อให้รู้ว่าเมื่อต้องเขียนรายงานผลการวิจัยควรทาการทบทวนเพิ่มเติม หรือใช้เป็นแนวทางในการเขียนส่วนต่างๆ ของรายงาน

การเรียบเรียงวรรณกรรมที่ดี
สิ่งที่ควรทำ
1. บันทึกสาระ สถิติ/ข้อมูลสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำหนดไว้
2. ทำบรรณานุกรมระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ ชื่อบทความ/ตำรา ชื่อวารสารเลขหน้า ตามหลักการอ้างอิง
3. ย่อยและสังเคราะห์วรรณกรรมนัน้ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้วิจัยควรเขียนทบทวนวรรณกรรมจากการย่อยหรือสังเคราะห์วรรณกรรมที่ค้นคว้ามา ไม่ควรใช้วิธีตัดต่อหรือย่อเนื้อหา
4. การเขียน ควรตั้งหัวข้อตามประเด็นการศึกษาที่ตัง้ ไว้และเขียนในเชิงวิเคราะห์ว่า ในแต่ละประเด็นนั้นมีความรู้ ทฤษฎี หรือ แนวความคิดอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง และงานหลายๆ ชิน้ มีข้อสรุปอะไรบ้างที่ร่วมกัน เหมือนหรือ ขัดแย้งกันในเรื่องอะไรบ้าง อย่างไร เป็นต้น
5. การทบทวนวรรณกรรมต้องมีการอ้างอิง

การทบทวนวรรณกรรม

ความหมายของการทบทวนวรรณกรรม (Review Literature)  การค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา และ/หรือ โจทย์วิจัยที่กำหนด เพื...