วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

การทบทวนวรรณกรรม

ความหมายของการทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) 

การค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา และ/หรือ โจทย์วิจัยที่กำหนด เพื่อให้นักวิจัยมีความรอบรู้ในเรื่องนัน้ มากขึ้นจน สามารถทำการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพ

 
ความสาคัญของการทบทวนวรรณกรรม
1. เป็นหลักฐานว่างานวิจัยที่ทามีคุณค่าและเชื่อถือได้ในด้านวิชาการ
2. ทำให้ผู้ที่นำงานวิจัยไปใช้มีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความถูกต้องของแนวคิดและทฤษฎีที่นามาใช้
3. สามารถนาเสนอผลการวิจัยที่ชีใ้ ห้เห็นความสอดคล้องและความขัดแย้งกับผลงานวิจัยอื่น ๆ
4. ผู้อ่านได้สารสนเทศด้านแนวคิดและคุณลักษณะของการวัดในมิติต่างๆ 
5. ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้เห็นพัฒนาการในมิติต่างๆ ของความรู้ในเรื่องที่ทำวิจัย
6. แสดงให้เห็นว่างานวิจัยที่จะทาเหมาะสมกับองค์ความรู้ที่มีอยู่
7. ทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างเป็นประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

 ข้ั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม
- สืบค้น
- จัดการเรียบเรียง
- เขียน 

หลักการคัดเลือกและประเมินวรรณกรรมที่เหมาะสม
1. ผู้เขียน พิจารณาความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในเรื่องนั้น
2. ความถูกต้อง เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ความสอดคล้องกับเนือ้ หากับโจทย์วิจัยที่กาหนด
3. ความทันสมัย ควรพิจารณาเนื้อหา ข้อมูลที่ทันสมัย มีการพิมพ์ล่าสุดหรือไม่เกิน 5 ปี
4. แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบจากแหล่งปฐมภูมิจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าแหล่งทุติยภูมิ
5. วิธีการเขียน ควรพิจารณาวรรณกรรมที่เข้าใจได้ง่าย มีการเรียบเรียงที่ดี ไม่ซับซ้อนมาก
6. การอ้างอิง หนังสือหรือเอกสารนั้นมีเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือเพียงใด
7. สำนักพิมพ์ หนังสือ เอกสารที่พิมพ์ต่างสานักพิมพ์ก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน

เนื้อหาที่ต้องทบทวนจากวรรณกรรม
1. สถานการณ์ท่เี ป็ นปัญหา เป็นการทบทวนในสิ่งที่ชี้บอกว่าเรื่องที่จะทำเป็นปัญหา
2. แนวคิด ทฤษฎี ที่ใช้สนับสนุน ทฤษฎีที่กล่าวว่าอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง มีการนาไปใช้โดยตรงหรือว่าประยุกต์อย่างไรบ้าง และในการวิจัยครั้งนี้จะใช้ทฤษฎีอะไร
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องทบทวนทั้งเนื้อหาวิชา เนื้อเรื่อง ตัวแปรที่ศึกษา และวิธีการวิจัยที่ ใคร ทำเรื่องอะไร กับใคร ที่ไหน ด้วยวิธีการอย่างไร และผลการวิจัยและข้อสรุปเป็นอย่างไร
4. เครื่องมือวิจัยและเครื่องมือเก็บข้อมูล ต้องทบทวนว่า มีเครื่องมือวิจัยและเครื่องมือเก็บข้อมูลของใครพอที่จะนามาใช้กับการวิจัยของเราได้บ้าง
5. สถิติและแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล จาเป็นต้องทบทวนด้วย จะได้ใช้เป็นแนวทางในการกาหนดปัญหาการวิจัย สมมติฐาน ขอบเขตการนิยาม และแนวทางการวิเคราะห์
6. รูปแบบและลีลาการเขียนรายงาน เพื่อให้รู้ว่าเมื่อต้องเขียนรายงานผลการวิจัยควรทาการทบทวนเพิ่มเติม หรือใช้เป็นแนวทางในการเขียนส่วนต่างๆ ของรายงาน

การเรียบเรียงวรรณกรรมที่ดี
สิ่งที่ควรทำ
1. บันทึกสาระ สถิติ/ข้อมูลสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำหนดไว้
2. ทำบรรณานุกรมระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ ชื่อบทความ/ตำรา ชื่อวารสารเลขหน้า ตามหลักการอ้างอิง
3. ย่อยและสังเคราะห์วรรณกรรมนัน้ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้วิจัยควรเขียนทบทวนวรรณกรรมจากการย่อยหรือสังเคราะห์วรรณกรรมที่ค้นคว้ามา ไม่ควรใช้วิธีตัดต่อหรือย่อเนื้อหา
4. การเขียน ควรตั้งหัวข้อตามประเด็นการศึกษาที่ตัง้ ไว้และเขียนในเชิงวิเคราะห์ว่า ในแต่ละประเด็นนั้นมีความรู้ ทฤษฎี หรือ แนวความคิดอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง และงานหลายๆ ชิน้ มีข้อสรุปอะไรบ้างที่ร่วมกัน เหมือนหรือ ขัดแย้งกันในเรื่องอะไรบ้าง อย่างไร เป็นต้น
5. การทบทวนวรรณกรรมต้องมีการอ้างอิง

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563

รูปแบบการพิมพ์วิทยานิพนธ์

 การพิมพ์วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2560 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนและจัดพิมพ์วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คู่มือนี้ได้รับการออกแบบให้ใช้ควบคู่กับเอกสารแม่แบบวิทยานิพนธ์ (Thesis templates) ที่ได้กำหนดขนาดตัวอักษร รูปแบบการเขียน และรูปแบบการจัดวางข้อความอย่างถูกต้องไว้เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูล Template ในรูปแบบ Word ไปใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

THESIS MANUALS

ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ เป็นรายงานการศึกษาวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นเอกสารวิชาการที่ศึกษาในเรื่องใด เรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีวิจัย และมีคุณภาพสูง

การทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดให้มีการทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

  1. ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation)

    เป็นรายงานการศึกษาวิจัยภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาที่กำหนดให้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาเอก แผน 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ และ แผน 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
     
  2. วิทยานิพนธ์ (Thesis)

    เป็นรายงานการศึกษาวิจัยภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาที่กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก ซึ่งเป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์
     
  3. สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ (Independent Study)

    เป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาที่กำหนด ให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ข ซึ่งเป็นแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษารายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องกำหนดให้มีการศึกษารายวิชาที่เป็นการค้นคว้าอิสระ (การค้นคว้าอิสระนี้ ในบางคณะอาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น เช่น ภาคนิพนธ์ การศึกษาอิสระ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง งานวิจัยเฉพาะเรื่อง งานวิจัยเฉพาะกรณี งานวิจัยเฉพาะบุคคล รายงานโครงการเฉพาะบุคคล และโครงการทางวัฒนธรรม เป็นต้น)

รูปแบบการเขียนดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ

รูปแบบการเขียนดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในคู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ สำหรับรูปแบบการเขียนสารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระให้ใช้รูปแบบเดียวกับการเขียนวิทยานิพนธ์ หรือตามที่คณะกำหนด โดยลิขสิทธิ์ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระเป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การส่งดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระฉบับสมบูรณ์

นักศึกษาที่สอบผ่านการสอบดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระเรียบร้อยแล้ว ให้นำส่งเข้าระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ฉบับปัจจุบัน



การอ้างอิง และรายการอ้างอิง

การอ้างอิงคือ การระบุแหล่งที่มาของข้อความที่คัดลอกมาโดยตรงหรือประมวลความคิดมา (Paraphrase) สำหรับรายการอ้างอิงคือ รายละเอียดของเอกสารและข้อมูลทุกรายการ ที่ใช้ประกอบการทำวิทยานิพนธ์โดยจะอยู่ส่วนท้ายวิทยานิพนธ์ ซึ่งรายการอ้างอิงนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญเพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องทำให้วิทยานิพนธ์มีความน่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม รวมทั้งเป็นการให้เกียรติงานที่นำมาอ้าง และเป็นการแสดงจรรยาบรรณที่จะไม่ละเมิดหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่น เพราะการคัดลอกหรือลอกเลียนข้อความหรือแนวความคิดของผู้อื่นมาใช้โดยไม่มีการอ้างอิง (Plagiarism) นอกจากจะผิดจรรยาบรรณในการวิจัยแล้วยังจะมีความผิดทางกฎหมายฐานละเมิดอีกด้วย

สำหรับรูปแบบการอ้างอิงที่มีใช้ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบซึ่งได้รับความนิยม โดยแต่ละรูปแบบจะเหมาะกับงานในแต่ละสาขาวิชา ดังนั้น เพื่อให้การอ้างอิงในวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมาตรฐานเดียวกัน ให้คณะหรือสาขาวิชา เลือกรูปแบบรายการอ้างอิงตามคู่มือฯ ฉบับนี้ โดยเลือกใช้การอ้างอิงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และเมื่อใช้รูปแบบใดแล้วให้ใช้รูปแบบนั้นตลอดทั้งเล่ม

รูปแบบการอ้างอิงที่สามารถเลือกใช้ได้มีดังต่อไปนี้

  1. การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citing References in Text) ตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) [PDF] นิยมใช้กับงานในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และจิตวิทยา
     
  2. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote) ตามหลักเกณฑ์ Turabian [PDF] นิยมใช้กับงานในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     
  3. การอ้างอิงแบบตัวเลข (Numerical Arrangement) ตามหลักเกณฑ์ Vancouver [PDF] นิยมใช้กับงานในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ในการอ้างอิงแต่ละรูปแบบ การย่อหน้า หรือการเว้นวรรคระยะ ให้เป็นไปตามโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม เช่น EndNote เป็นต้น

ดาวน์โหลด: ตัวอย่างการจัดพิมพ์และการจัดวางเนื้อหาวิทยานิพนธ์

ดาวน์โหลด: ตัวอย่างการพิมพ์ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ภาษาไทย

ดาวน์โหลด: ตัวอย่างการพิมพ์ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ

ดาวน์โหลด: สิ่งที่ควรทราบในการทำวิทยานิพนธ์
 



THESIS TEMPLATES

ดาวน์โหลด: Template วิทยานิพนธ์ภาษาไทย 

ดาวน์โหลด: Template วิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ (TH Sarabun New)

ดาวน์โหลด: Template วิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ (Times new Roman)

หมายเหตุ: สำหรับวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ ใช้ font ตามที่คณะกำหนด

ดาวน์โหลด: คู่มือการใช้งาน Template วิทยานิพนธ์

การใส่ชื่อสาขาวิชา/ภาควิชาที่หน้าปก และ หน้า TITLE PAGE

-กรณีที่คณะไหนมีเฉพาะสาขาวิชา ให้ใส่เฉพาะสาขาวิชา

-กรณีที่คณะไหนมีเฉพาะภาควิชา ให้ใส่แค่ภาควิชา

-กรณีที่คณะไหนมีทั้งสาขาวิชาและภาควิชา ให้ใส่ทั้งสองอย่าง

-ชื่อเต็มปริญญาที่ได้รับ ให้ดูตามคู่มือการศึกษา (ชื่อปริญญา ไม่ใช่ชื่อหลักสูตร) เช่น วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม)  / Master of Engineering (Energy and Environmental Technology  Management)

ตัวอย่าง

การค้นคว้าอิสระ

วิทยานิพนธ์ที่มีเฉพาะสาขาวิชา

วิทยานิพนธ์ที่มีเฉพาะภาควิชา

วิทยานิพนธ์ที่มีทั้งสาขาวิชาและภาควิชา

ดุษฏีนิพนธ์

ดุษฏีนิพนธ์(สาขาบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ)


แหล่งที่มา : https://library.tu.ac.th/th/academic-support/thesis-templates-manuals


การพิมพ์วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์ ปี 2553

เอกสารรายละเอียด
ปก
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ หน้า 1 – 13
บทที่ 2 องค์ประกอบวิทยานิพนธ์ หน้า 14 – 21
บทที่ 3 การอ้างอิง หน้า 22 – 59
บทที่ 4 การพิมพ์วิทยานิพนธ์ หน้า 60 – 69
ภาคผนวก หน้า 70 – 152
รวมคู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์ ปี 2553


คู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม ปี 2553

เอกสารรายละเอียด
ปก
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 คำแนะนำและข้อปฏิบัติ หน้า 1 – 10
บทที่ 2 องค์ประกอบของวิทยานิพนธ์ หน้า 11 – 17
บทที่ 3 การอ้างอิง หน้า 18 – 35
บทที่ 4 การเขียนรายการเอกสารและสิ่งอ้างอิง หน้า 36 – 64
บทที่ 5 การพิมพ์วิทยานิพนธ์ หน้า 65 – 71
ภาคผนวก หน้า72 – 123
รวมคู่มือวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคม ปี 2553


เอกสารรายละเอียด
เอกสารประกอบการอบรมการพิมพ์วิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์Download
เอกสารประกอบการอบรมการพิมพ์วิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์สังคมDownload


เอกสารรายละเอียด
ใบรับรองวิทยานิพนธ์Download


เอกสารรายละเอียด
การให้บริการพิมพ์ใบรับรองวิทยานิพนธ์


เอกสารรายละเอียด
ข้อแนะนำในการพิมพ์บทคัดย่อ
ตัวอย่างการพิมพ์บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ตารางสำหรับพิมพ์บทคัดย่อภาษาไทย
ตารางสำหรับพิมพ์บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


เอกสารรายละเอียด
การส่งคำร้องขอตรวจรูปแบบวิทยานิพนธ์


แหล่งที่มา https://www.grad.ku.ac.th


คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ - บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


การพิมพ์วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

  • คู่มือวิทยานิพนธ์ :  ดาวน์โหลด  และ template abstract
  • บว.01/00 แบบบันทึกการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.02 เค้าโครงความคิดการค้นคว้าอิสระ (Concept Paper) : ดาวน์โหลด
  • บว.03 แบบอนุมัติเค้าโครงความคิดวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ ของคณะกรรมการหลักสูตร : ดาวน์โหลด
  • บว.04/06 แบบขอแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.05/10 แบบขออนุมัติสอบ และขอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ :  ดาวน์โหลด
  • บว.06 แบบเสนอเปลี่ยนแปลงเค้าโครงวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.06/04 แบบเสนอเปลี่ยนแปลงอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.07 แบบส่งเค้าโครงวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ ฉบับสมบูรณ์ : ดาวน์โหลด
  • บว.08/07 แบบขออนุมัติสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบป้องกันการค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.08/07 แบบขออนุมัติสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ :  ดาวน์โหลด
  • บว.09-06 แบบขอหนังสือผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ :  ดาวน์โหลด
  • บว.10-06 แบบขอหนังสือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ :  ดาวน์โหลด
  • บว.11 แบบขอตรวจความสมบูรณ์ของรูปแบบการพิมพ์วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.12 แบบขอตรวจสอบความสมบูรณ์ของรูปแบบการพิมพ์วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.14-06 แบบกลั่นกรอง : ดาวน์โหลด
  • บว.15-02 แบบฟอร์มขอเปลี่ยนแปลงวันสอบวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.16-02 ใบรับรองการตรวจวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.17-04 แบบส่งบทคัดย่อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.18-04 แบบประเมินคุณภาพการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา : ดาวน์โหลด
  • บว.20 แบบเสนอขอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติ : ดาวน์โหลด
  • บว.22 แบบฟอร์มขอรับทุนการเสนอผลงานทางวิชาการ : ดาวน์โหลด
  • บว.23-02 แบบฟอร์มขอขยายระยะเวลาการศึกษา : ดาวน์โหลด
  • บว.24 แบบรายงานความก้าวหน้าของการทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.25-02 แบบเสนอเค้าโครงภาคนิพนธ์ และขออนุมัติหัวข้อการค้นคว้าอิสระ : ดาวน์โหลด
  • บว.26-02 แบบขอสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) : ดาวน์โหลด
  • บว.27 ใบแจ้งผลสอบประมวลความรู้และสอบวัดคุณสมบัติ : ดาวน์โหลด
  • บว.28 คำร้องขอเทียบโอนผลการเรียนและการยกเว้นการเรียน : ดาวน์โหลด
  • บว.31 ใบแจ้งความจำนงสำเร็จการศึกษา : ดาวน์โหลด  และเอกสารแนบขอคำสำเร็จการศึกษา
  • บว.32 คำร้องขอย้ายสาขาวิชา : ดาวน์โหลด
  • บว.33-01 แบบขออนุมัติเปลี่ยนระดับการศึกษา : ดาวน์โหลด
  • บว.35 แบบขอรับการตรวจสอบความถูกต้องของภาษาอังกฤษของบทคัดย่อวิทยานิพนธ์  :  ดาวน์โหลด
  • บว.36 การตรวจรูปแบบก่อนยื่นสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ สอบป้องกันวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ :  ดาวน์โหลด
  • บว.37 แบบฟอร์มการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ดาวน์โหลด
  • FM-RG-02: คำร้องขอสำเร็จการศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ดาวน์โหลด
  • Concept Paper สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก

แหล่งที่มา : https://grad.ssru.ac.th/page/form


คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทั - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรรมาธิราบช



คู่มือการอ้างอิงการทำวิทยานิพนธ์ - มหาวิทยาลัยศิลปากร

คู่มือการอ้างอิงการทำวิทยานิพนธ์

  • คู่มือการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Download)
  • คู่มือการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา : ระบบนามปี (Download)
  • คู่มือการอ้างอิงแบบตัวเลข (Download)

คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 คู่มือการทำดุษฏีนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563

แหล่งที่มา : http://grad.snru.ac.th/admission/


คู่มือบัณฑิตศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

แหล่งที่มา : http://grad.vru.ac.th/researchzone/research_platfrom.php


การพิมพ์วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 

ดาวน์โหลด Template ในการพิมพ์วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ

แหล่งที่มา : http://grad.hcu.ac.th/template/


คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์และเอกสารทางวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้า


คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 


คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิทยานิพนธ์

แหล่งที่มา : http://www.grad.ru.ac.th/index.php/research/thesis

   




















การทบทวนวรรณกรรม

ความหมายของการทบทวนวรรณกรรม (Review Literature)  การค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา และ/หรือ โจทย์วิจัยที่กำหนด เพื...